ข่าวสารสหกรณ์
  • 29 เม.ย. 2565
 9,133

สรุป - ชี้แจงประเด็นเรียกร้องขอรับสวัสดิการช่วยเหลือ Covid -19

จากกรณีข่าวการประกาศปิดรับสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกที่ติดเชื้อโควิด 19 เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 65 นั้น (อ่านข่าวเดิมที่นี่)

 

สหกรณ์ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้แทนสมาชิก แจ้งว่า ขอให้สหกรณ์พิจารณาช่วยเหลือผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) เพิ่มเติมอีก เนื่องจากยังมีสมาชิกที่อยู่ระหว่างขอเอกสารยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาอีกจำนวนมาก และ ขอให้สหกรณ์ช่วยเหลือโดยไม่จำกัดจำนวน

 

ทั้งนี้ทางสหกรณ์ จึงขอสรุปประเด็น ในกรณีการเรียกร้องขอสวัสดิการช่วยเหลือโควิด 19 โดยขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้

 

UploadImage

1. ปี 2563 มีสมาชิกติดเชื้อเพียง 1 ราย

สหกรณ์ได้กำหนดระเบียบดังกล่าวถือใช้ครั้งแรกในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยมีความรุนแรง โดยผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวมีอาการรุนแรง (เชื้อไวรัสลงปอด) และมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก ประกอบกับแนวทางการรักษายังไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นโรคใหม่ จนทำให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด เช่น จำกัดการเดินทางข้ามจังหวัดต่าง ๆ จำกัดจำนวนคนกรณีรวมกลุ่มกัน รวมถึงสั่งปิดสถานที่บางแห่ง เป็นต้น

 

ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนน้อยแต่ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับสมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก สหกรณ์ฯ จึงกำหนดระเบียบสวัสดิการสมาชิกเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)  ทั้งนี้ ในปี 2563 มีสมาชิกขอรับสวัสดิการเพียง 1 คน จากสมาชิกทั้งหมด 13,290 คน

 

UploadImage

2. ปี 2564 สมาชิกผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากขึ้น รวม 122 ราย โรคโควิดเริ่มกลายพันธุ์ ติดเชื้อง่าย รัฐบาลเร่งฉีดวัคซีนลดอาการป่วยหนัก

ในปี 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดยังมีความรุนแรง รัฐบาลมีการยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อป้องกันการระบาดระลอก 3 เพื่อลดอาการป่วยหนัก ลดการเสียชีวิต และมีการนำเข้ายารักษาโรคโควิด-19 ต่อมา เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2564 ศบค. มีมติผ่อนคลายกิจการและกิจกรรมบางส่วน พร้อมปรับการควบคุมแนวใหม่ให้สมดุลกับการดำเนินชีวิตที่ปลอดภัยจากโควิด-19  และเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 รัฐบาลมีนโยบายเปิดประเทศ โดยคงมาตรการทางสังคม WFH และเคอร์ฟิว ในช่วงปลายปี 2564 โควิดสายพันธุ์เดลต้าเริ่มคลี่คลาย โดยมีโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเริ่มเข้ามาแพร่ระบาดแทนที่สายพันธุ์เดลต้า

 

ในส่วนของสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด เห็นว่าในปี 2564 โรคโควิด-19 ยังมีความรุนแรง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือสมาชิกอย่างต่อเนื่อง จึงได้แก้ไขระเบียบสวัสดิการสมาชิกเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยขยายระยะเวลาให้ระเบียบมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยในปี 2564 มีสมาชิกขอรับสวัสดิการ จำนวน 122 ราย และสหกรณ์ได้แก้ไขระเบียบอีกครั้ง เพื่อขยายระยะเวลาให้ระเบียบมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565


UploadImage

 

3. มี.ค. – เม.ย. 2565 สมาชิกผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากขึ้นถึง 804 ราย

 

โรคโควิด-19 กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่เป็นโอมิครอน ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้เร็วและเข้าสู่ระบบร่างกายได้ง่ายขึ้น ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด สำหรับการรักษาก็มีความชัดเจนมากขึ้น โดยให้ยาต้านไวรัสภายใน 3 วัน (24 - 72 ชั่วโมง) ก็จะมีอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติ ประกอบกับผู้คนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนต้านโควิด ซึ่งช่วยลดความรุนแรงได้มาก

 

ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อง่ายขึ้น แต่อาการไม่รุนแรง และเสียชีวิตน้อยลง กระทรวงสาธารณสุขจึงเตรียมประกาศให้ “โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น” ให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาตามสิทธิ ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ และต่อมาศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 ได้มีประกาศ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 ให้โรงพยาบาลดูแลผู้ป่วยแบบโรคประจำถิ่น และเพิ่มการจัดบริการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการป่วยหรืออาการป่วยไม่มากให้สังเกตตัวเองที่บ้านตามความสมัครใจ ตามโครงการ “เจอ แจก จบ”

 

UploadImage

 

UploadImage

UploadImage

UploadImage

UploadImage

 

...จากกราฟจะเห็นว่า 

(1) จาก เม.ย. 63 – ก.พ. 65 รวมระยะเวลา 23 เดือน มีสมาชิกขอรับสวัสดิการ รวมทั้งสิ้น 196 ราย

(2) เดือน มี.ค. 65 มีสมาชิกขอรับสวัสดิการ จำนวน 376 ราย และเดือน เม.ย. มีจำนวน 428 ราย รวมทั้งสิ้น 804 ราย

(3) จะเห็นว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในเดือน มี.ค. - เม.ย. 65 สหกรณ์ได้จ่ายเงินสวัสดิการถึง ร้อยละ 80.40 ของทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด ซึ่งมีผลทำให้ทุนสวัสดิการดังกล่าวหมดไปอย่างรวดเร็ว


UploadImage


4. สหกรณ์ไม่อาจเปิดเผยชื่อผู้ขอรับสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิดได้ ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 7

คณะกรรมการดำเนินการมีแนวคิดที่จะประกาศรายชื่อสมาชิกผู้ขอรับสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 เช่นเดียวกับการขอรับสวัสดิการประเภทอื่น ๆ ที่สหกรณ์จะประกาศรายชื่อให้สมาชิกทราบ แต่เมื่อคณะกรรมการได้ศึกษารายละเอียดแล้ว พบว่า ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากสหกรณ์จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 7 ซึ่งกำหนดว่า “ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรง หรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของส่วนราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้”


UploadImage


5. แนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เพิ่มมากขึ้น ทุนสวัสดิการที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอ

ตามข้อมูลการจ่ายทุนสวัสดิการโควิด จะเห็นว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19  มีแนวโน้มสรุปได้ ดังนี้

  • 1. ในปี 2563 ซึ่งสหกรณ์เริ่มกำหนดใช้ระเบียบตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม โดยสหกรณ์มีสมาชิกขอรับสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด เพียง 1 ราย
  • 2. ในปี 2564 ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 และ 3 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม มีสมาชิกขอรับสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด122 ราย
  • 3. ในปี 2565 ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดระลอกที่ 4 และ 5 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน มีสมาชิกขอรับสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด 877 ราย
  • 4. ในปี 2565 หลังจากวันที่ 19 เมษายน 2565 ซึ่งสหกรณ์จ่ายสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ติดเชื้อโควิด-19 ครบตามวงเงินที่กำหนด 10 ล้านบาทแล้ว สหกรณ์ยังได้รับคำขอรับสวัสดิการโควิดจากสมาชิกอีกจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดก็ยังอยู่ในระดับสูง และมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะมีสมาชิกติดเชื้อมากขึ้น โดยคาดหมายแนวโน้มได้ ดังนี้

 

UploadImage
 

UploadImage
 

จากกราฟจะเห็นว่า

1. หากเป็นไปตามแนวโน้มที่ 1

ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 65 จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวม 8,248 ราย สหกรณ์ต้องจ่ายเงินสวัสดิการเพิ่มขึ้นอีก 82.48 ล้านบาท

2. หากผู้ติดเชื้อลดลงเป็นไปตามแนวโน้มที่ 2

ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 65 จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวม 4,700 ราย สหกรณ์ต้องจ่ายเงินสวัสดิการเพิ่มขึ้นอีก 47 ล้านบาท

(3) จากการคาดการณ์ หากสมาชิกติดเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นไปตามแนวโน้มที่ 1 หรือแนวโน้มที่ 2 สหกรณ์มีทุนสวัสดิการไม่เพียงพอในการช่วยเหลือสมาชิกทั้งหมด
 


UploadImage


6. จำนวนผู้ติดเชื้อของหน่วยงานในสังกัด ทส. ปีเดียวมีผู้ติดเชื้อ  7,044 คน

จากข้อมูลของ ทส. มีบุคลากรในสังกัดติดเชื้อโควิด-19 สะสมเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์ 

UploadImage

โดยข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. 2564 – 28 เม.ย. 2565  เพียงปีเดียว มีผู้ติดเชื้อสูงถึง 7,044 คน และ จำนวนผู้ติดเชื้ออาจมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าที่สหกรณ์ได้คาดการณ์ไว้ หากสหกรณ์ให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อทั้งหมดต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก


UploadImage
 

7. หากเพิ่มจัดสรรกำไรสุทธิเป็นเงินสวัสดิการ จะกระทบเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน

โดยปกติสหกรณ์จะจ่ายเงินสวัสดิการให้แก่สมาชิกประมาณปีละ 33.8 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณ 11.8 ล้านบาท และจ่ายจากทุนสวัสดิการสมาชิก 22.00 ล้านบาท การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 สหกรณ์จัดสรรกำไรเป็นทุนสวัสดิการสมาชิก จำนวน 20.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนสวัสดิการที่จ่ายจริงจากทุนสวัสดิการสมาชิก เนื่องจากต้องนำเงินส่วนใหญ่ไปจ่ายเป็นปันผลและเฉลี่ยคืนให้กับสมาชิก และในปี 2566 หรือปีต่อ ๆ ไป สหกรณ์อาจต้องจัดสรรกำไรน้อยลงหากผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ต้องนำเงินทุนสวัสดิการที่สะสมไว้มาใช้และอาจจะจัดสรรน้อยกว่า 20 ล้านบาท ก็อาจเป็นไปได้

 

หากสหกรณ์จ่ายทุนสวัสดิการที่เก็บสะสมไว้จนหมด อาจกระทบการจ่ายสวัสดิการประเภทอื่น ๆ อีก 18 ประเภท ดังนั้น การเพิ่มวงเงินสวัสดิการโควิด อาจเป็นการช่วยเหลือสมาชิกเฉพาะกลุ่มที่ติดเชื้อโควิดเท่านั้น แต่จะไปกระทบสมาชิกทั้งหมดที่จะได้รับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน ทั้งนี้ ตามข้อมูลการจ่ายเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสรุปได้ดังนี้

1. หากเพิ่มวงเงินสวัสดิการประมาณ 7.88 ล้านบาท จะกระทบเงินปันผลประมาณร้อยละ 0.10 หรือ

2. หากเพิ่มวงเงินสวัสดิการประมาณ 4.2 ล้านบาท จะกระทบเงินเฉลี่ยคืนร้อยละ 1


UploadImage
 

8. การหารายได้ของสหกรณ์เป็นไปด้วยความยากลำบาก หากต้องจัดสรรกำไรเป็นสวัสดิการเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนลดลง

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งมีผลกับสภาวะเศรษฐกิจและรายได้จากการลงทุนของสหกรณ์ในปัจจุบัน ทำให้รายได้จากการลงทุนภายนอกซึ่งเป็นรายได้กึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดของสหกรณ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยรายได้จากการลงทุนภายนอกเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้สหกรณ์นำเงินมาจ่ายปันผลและเฉลี่ยคืนให้กับสมาชิก จะเห็นได้ว่ารายได้ของสหกรณ์ลดลง กำไรสุทธิก็จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งนับว่าเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่หากสหกรณ์จะต้องจัดสรรกำไรเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นเงินสวัสดิการ ก็จะส่งผลให้เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนของสมาชิกลดลง


สรุป

ดังนั้นจากการสรุปประเด็นชี้แจงที่กล่าวมา คณะกรรมการดำเนินการเห็นควรว่าการจ่ายทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ติดเชื้อโควิด-19 เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ ซึ่งจ่ายครบวงเงิน 10 ล้านแล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินงานสหกรณ์ จึงมีมติไม่เพิ่มวงเงินทุนสวัสดิการดังกล่าว