ประกันชีวิตกลุ่มคืออะไร? ค่าเบี้ยประกันและความคุ้มครองเท่าไรบ้าง
 10,141

UploadImage

UploadImage

ประกันชีวิตกลุ่มคืออะไร?
ประกันชีวิตกลุ่ม คือการทำประกันภัยแบบหลายคนภายใต้กรมธรรม์เดียวกัน (กรมธรรม์ในนามของสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด) โดยนิยมทำให้กับบุคลากรในองค์กรหรือหน่วยงาน ที่ทำประกันชีวิตกลุ่มเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากประกันชีวิตส่วนบุคคล ที่ซื้อผ่านตัวแทนประกัน และความคุ้มครองครอบคลุมเฉพาะผู้ซื้อกรมธรรม์เพียงผู้เดียว

 


 
ประกันชีวิตกลุ่มสำหรับสมาชิก
UploadImage

สมาชิกทุกคนรับความคุ้มครอง ฟรี!! ในเบี้ยประกันเริ่มต้น เดือนละ 50 บาท 
**
ทันทีที่บริษัทประกันตอบรับการทำประกันชีวิต** 

เงื่อนไขการสนับสนุนค่าเบี้ยประกันและความคุ้มครอง ดังนี้

1.ในกรณีที่สมาชิกเลือกทำประกันชีวิตกลุ่มค่าเบี้ยประกันที่ 50 บาทต่อเดือน สหกรณ์จ่ายสนับสนุนค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิก โดยมีวงเงินความคุ้มครองเฉพาะกรณีเสียชีวิตทั่วไป 100,000 บาท เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ 100,000 บาท จนถึงอายุ 70 ปี 

2.ในกรณีที่สมาชิกเลือกทำประกันชีวิตกลุ่มค่าเบี้ยประกันเกินกว่า 50 บาท สหกรณ์จ่ายสนับสนุนค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มให้กับสมาชิกเดือนละ 50 บาทหรือปีละ 600 บาทต่อคน จนถึงอายุ 70 ปี


การกู้สามัญต้องทำประกันชีวิตตามวงเงินหนี้สามัญรวมกันทุกประเภท
UploadImage
 

สมาชิกมีสิทธิทำประกันชีวิตเพิ่มให้กับบุคคลในครอบครัวดังนี้ 

  • บุตรสมาชิกอายุ 14 วันขึ้นไป สามารถสมัครประกันชีวิตกลุ่มได้ และสิ้นสุดความคุ้มครองเมื่อสมาชิกอายุ 70 ปี
  • คู่สมรสสมัครประกันใหม่ จะต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี ประกันสิ้นสุดความคุ้มครองเมื่อสมาชิกอายุ 70 ปี
  • คู่สมรสและบุตรสมาชิกไม่สามารถทำประกันชีวิตกลุ่ม อัตราเบี้ยประกันชีวิตที่สูงกว่าสมาชิกได้
  • ความคุ้มครองของคู่สมรสสมาชิกจะสิ้นสุดเมื่อมีอายุครบ 70 ปี แต่หากสมาชิกอายุครบ 70 ปี ก่อนคู่สมรสการทำประกันชีวิตกลุ่มจะสิ้นสุดความคุ้มครองพร้อมสมาชิก ผลประโยชน์ความคุ้มครอง ดังนี้
UploadImage 
 

** สำหรับสมาชิกเท่านั้น** สหกรณ์สนับสนุนค่าประกันชีวิตกลุ่มทุกเบี้ยประกัน เดือนละ 50 บาท รวมเป็นปีละ 600 บาท

 

สาระน่ารู้

การคิดยอดการหักชำระค่าประกันชีวิตกลุ่มที่แท้จริง ให้นำอัตราเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มที่เลือก ลบด้วย 50 บาท จะเป็นยอดการหักชำระค่าเบี้ยประกันรายเดือนจากสมาชิก เช่น เบี้ย 385 - 50 = 335 บาท คือยอดที่ชำระจริง

 

เอกสารประกอบการสมัครประกันชีวิต

สำหรับสมาชิก

สำหรับคู่สมรสสมาชิก

  • แบบฟอร์มใบคำขอเอาประกันชีวิตกลุ่ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คลิ๊ก
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้สมัครทำประกัน
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัครทำประกัน
  • สำเนาทะเบียนสมรส
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสมาชิก
  • หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์

สำหรับบุตรสมาชิก

  • แบบฟอร์มใบคำขอเอาประกันชีวิตกลุ่ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คลิ๊ก
  • สำเนาสูติบัตร (กรณีบุตรอายุไม่ครบ 15 ปี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้สมัครทำประกัน
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัครทำประกัน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสมาชิก
  • หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์

 
ประกันชีวิตกลุ่มสำหรับสมาชิกสมทบ
UploadImage

UploadImage


**หมายเหตุ**

- สหกรณ์ไม่มีสนับสนุนค่าประกันชีวิตกลุ่มให้สมาชิกสมทบ ซึ่งสมาชิกสมทบจะถูกหักชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มตามอัตราเบี้ยประกันที่เลือกเป็นรายเดือน
- สามารถยื่นแบบฟอร์มทำประกันชีวิตกลุ่มโดยส่งแบบฟอร์มมาทางไปรษณีย์ คลิ๊กดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

   

เอกสารประกอบการสมัครประกันชีวิตของสมาชิกสมทบ

 

 

UploadImage
ประกันชีวิตมีผลคุ้มครองเมื่อใด?​ 

เมื่อสหกรณ์นำส่งค่าเบี้ยประกันให้บริษัทประกันชีวิต หรือมีการเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันตามใบเสร็จรับเงิน และบริษัทตอบรับการประกันชีวิตของท่านแล้ว สามารถตรวจสอบผ่าน Application Forest CO-OP GO

 

เมื่อผู้ขอเอาประกันภัยเสียชีวิต ต้องทำยังไงบ้าง?

กรณีเสียชีวิต เนื่องจากเจ็บป่วย

1. เตรียมเอกสารประกอบการขอรับสินไหม

  • สำเนาใบมรณะบัตร
  • สำเนาบัตรประจำประชาชนผู้เสียชีวิต
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ ประทับตรา “ตาย”
  • หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (กรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาล)
  • ใบรับแจ้งการตาย (กรณีเสียชีวิตที่บ้าน) พร้อมแนบสำเนาบัตรข้าราชการของผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน

2. ส่งเอกสารมาที่สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด ตู้ปณ. 169 ปณศ. จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 

 

กรณีเสียชีวิต เนื่องจากอุบัติเหตุ

1. เตรียมเอกสารประกอบการขอรับสินไหม

  • สำเนาใบมรณะบัตร
  • สำเนาบัตรประจำประชาชนผู้เสียชีวิต         
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ ประทับตรา “ตาย”
  • รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
  • ใบรายงานชันสูตรพลิกศพ

หมายเหตุ เอกสารประกอบการขอรับเงินสินไหมขอจำนวน 2 ชุด พร้อมเซ็นรับรองสำเนาทุกฉบับ

 

2. ส่งเอกสารมาที่สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด ตู้ปณ. 169 ปณศ. จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 

 

UploadImage
บริษัทประกันปฏิเสธจ่ายสินไหมกรณีใดบ้าง ?

  • กรณีร่วมโครงการประกันชีวิตกับสหกรณ์ครั้งแรก เมื่อผู้ทำประกันเป็นโรคร้ายแรง และเสียชีวิตภายในระยะเวลา 1 ปีแรก ที่เข้าร่วมโครงการประกันชีวิตกับสหกรณ์ ซึ่งการตรวจสอบประวัติทางการรักษาของแพทย์แล้ว พบว่า เป็นโรคร้ายแรง โดยปกปิด หรือแถลงโรคอันเป็นเท็จ
  • กรณีเพิ่มวงเงินคุ้มครองชีวิต เมื่อผู้ทำประกันเป็นโรคร้ายแรงมาก่อน และเสียชีวิตภายในระยะเวลา 1 ปีแรก ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มผลประโยชน์คุ้มครอง ซึ่งการตรวจสอบประวัติทางการรักษาของแพทย์ แล้วพบว่า เป็นโรคร้ายแรงมาก่อนการเพิ่มผลประโยชน์คุ้มครอง บริษัทจะจ่ายเงินสินไหมในวงเงินทุนประกันเดิม

การประกันชีวิตจะมีผลยกเลิกและสิ้นสุดการคุ้มครองชีวิต

เมื่อสหกรณ์ไม่สามารถเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันชีวิตเดือนใดเดือนหนึ่งได้ หรือสมาชิกอายุครบอายุ 70 ปี (กรณีบัตรประจำตัวประชาชนไม่ระบุวันที่และเดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น)

 

สิทธิการรับสินไหมกรณีสมาชิกสูญหาย

ขั้นตอนการดำเนินการ

1. เมื่อสมาชิกที่ทำประกันชีวิตสูญหายให้ทายาทแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ

2. ทายาทต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบภายใน 30 วัน นับจากวันแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยแนบเอกสาร ดังนี้

  • สำเนาใบแจ้งความจากสถานีตำรวจ
  • สำเนาเอกสารประจำตัวของสมาชิกผู้สูญหาย

3. ทายาทยังคงต้องชำระค่าเบี้ยประกันให้บริษัทประกันเสมือนสมาชิกยังมีชีวิตอยู่จนกว่าจะมีคำสั่งศาลว่าเป็นบุคคลสาบสูญ

4. คณะกรรมการดำเนินการพิจารณารับทราบการสูญหายของสมาชิกผู้นั้นเพื่อดำเนินการต่อไป

5. สหกรณ์ต้องนำส่งสำเนาบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการครั้งที่รับทราบการสูญหายของสมาชิก พร้อมสำเนาใบแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้บริษัทประกันชีวิต  ภายใน 30 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการดำเนินการมีมติรับทราบ

6. เมื่อครบ 5 ปี หรือตามที่กฎหมายกำหนด ทายาทต้องยื่นคำร้องขอต่อศาล  เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้สมาชิกผู้นั้นเป็นบุคคลสาบสูญ

7. เมื่อศาลมีคำสั่งให้สมาชิกผู้นั้นเป็นบุคคลสาบสูญ ให้ทายาทนำสำเนาคำสั่งศาลดังกล่าวยื่นต่อสหกรณ์ ซึ่งสหกรณ์จะได้ดำเนินการเพื่อขอรับสินไหมต่อไป

 

ประกันชีวิตกลุ่มคุ้มครองทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร และการสูญเสียอวัยวะ

การทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร หมายถึง ทุพพลภาพถึงขนาดไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานใด ๆ ในอาชีพประจำหรืออาชีพอื่น ๆ ได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป และการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรนั้นต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน  และกรณีต่อไปนี้ถือว่าเป็นการทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรด้วย คือ

1.  สูญเสียมือ สองข้าง หรือเท้าสองข้าง หรือสายตาสองข้างโดย

2.  สูญเสียมือหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้าง

3.  สูญเสียมือหนึ่งข้างและสายตาหนึ่งข้าง

4.  สูญเสียเท้าหนึ่งข้างและสายตาหนึ่งข้าง

 

การสูญเสียตา หมายถึง ตาบอดสนิท และไม่มีทางรักษาให้หายได้ตลอดไป

การสูญเสียมือหรือเท้า หมายถึง การถูกตัดออกจากร่างกายตั้งแต่ข้อมือ หรือข้อเท้าและให้หมายรวมถึงหรือสูญเสียสมรรถภาพในการใช้งานของอวัยวะนั้นโดยสิ้นเชิงถาวร

 

เมื่อสมาชิกทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ ให้ทายาทแจ้งต่อสหกรณ์และจัดส่งเอกสารต่าง ๆให้สหกรณ์ภายใน 180 วัน นับจากวันที่ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร