สวัสดิการสำหรับสมาชิก
  • 20 ธ.ค. 2560
 6,037

11. สวัสดิการเพื่อสงเคราะห์สมาชิกประสบภัย

ยื่นออนไลน์
ตรวจสอบสถานะ

ประสบภัย หมายถึง ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ที่อยู่อาศัยของสมาชิก อันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย  วาตภัย อัคคีภัย ธรณีพิบัติภัย เป็นต้น และให้หมายรวมถึงอุบัติภัยอื่น ๆ ที่เกิดแก่ที่อยู่อาศัยด้วย    

ความเสียหายที่จะได้รับเงินสงเคราะห์ตามระเบียบนี้ หมายถึง ความเสียหายต่อบ้านที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่ อยู่ภายในบ้านหลังดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงยานพาหนะและทรัพย์สินที่อยู่ภายนอกบ้าน

       

หลักเกณฑ์การขอรับสวัสดิการ

  • ผู้มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการ ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน การนับอายุการเป็นสมาชิกให้นับตั้งแต่วันแรกเข้าเป็นสมาชิกจนถึงวันประสบภัย
  • สมาชิกคนหนึ่งมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยตามระเบียบนี้ได้เพียงปีละ 1 ครั้ง
  • ยื่นขอรับสวัสดิการภายในกำหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดการประสบภัย หากพ้นกำหนดนี้แล้วเป็นอันหมดสิทธิ์ในการขอรับเงินสงเคราะห์

จำนวนเงินสวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกประสบภัย ให้จ่ายดังนี้

ที่อยู่อาศัยเสียหายทั้งหมดไม่อาจซ่อมแซมได้ ให้จ่ายตามที่เสียหายจริงแต่ไม่เกินรายละ

1. กรณีเป็นเจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน              จ่าย     40,000  บาท

2. กรณีเป็นผู้อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน       จ่าย     30,000  บาท

3. กรณีเป็นผู้อาศัยแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน     จ่าย     10,000  บาท

 

ที่อยู่อาศัยเสียหายบางส่วน ให้จ่ายตามที่เสียหายจริงแต่ไม่เกินรายละ

1. กรณีเป็นเจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน                 จ่าย     4,000  บาท

2. กรณีเป็นผู้อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน          จ่าย     3,000  บาท

3. กรณีเป็นผู้อาศัยแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน        จ่าย     1,000  บาท

กรณีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านพักของทางราชการ ไม่ว่าจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือไม่ก็ตาม ให้จ่ายเฉพาะทรัพย์สินที่เสียหายซึ่งอยู่ในที่อยู่อาศัยและเป็นกรรมสิทธิ์ของสมาชิกผู้นั้น ตามมูลค่าที่เสียหายจริงแต่ไม่เกินรายละ 3,000 บาท ให้มีหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชาว่าสมาชิกผู้นั้นได้อยู่อาศัยและทรัพย์สินได้รับความเสียหายจริง

 

เอกสารประกอบ

1. ใบคำขอรับสวัสดิการเพื่อสงเคราะห์สมาชิกประสบภัย ดาวน์โหลด คลิ๊ก

2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ประสบภัยซึ่งสมาชิกมีชื่ออยู่ สำหรับผู้อยู่อาศัยแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านจะต้องมีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังดังกล่าวจริง

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสมาชิก

4. รายการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เสียหาย

5. รูปถ่ายที่อยู่อาศัยที่เสียหายและปรากฏเลขที่บ้าน

6. รูปถ่ายรายการทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายตามรายการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เสียหาย


เอกสาร